วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เพลงค่านิยมหลัก 12 ประการ


กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย

ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา ร่วมกับ สำักงานเทศบาลตำบลเวียงสา จัดกิจกรรม งานอนุสรณ์รอยพระบาทแรกแห่งแผ่นดินน่าน  ระหว่างวันที่  1 -5 ธันวาคม 2557 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงสา


ห้อสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา จัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ วันที่ 7-8 มกราคม 2558 ณ ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา และ ร่วมกับสำนักงานเทศบาลตำบลกลางเวียง  ระหว่างวันที่ 7-11 มกราคม 2558 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลกลางเวียง และร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอ่ายนาไลย วันที่ 9 มกราคม 2558 









ภูมิปัญญาอ.เวียงสา

กลุ่มจักสานผู้สูงอายุ บ้านส้านนาหนองใหม่

ในอดีต ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านหลายคน รู้จักและสามารถจักสานสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ในครัวเรือนและใช้ประกอบอาชีพ โดยใช้ไม้ไผ่ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ตะกร้าเก็บผัก กระบุงใส่ข้าวเปลือก กะลา สำหรับรองตีข้าว วี สำหรับพัดสิ่งปลอมปนออกจากข้าว ข้องใส่ปลา กระด้ง ฯลฯ ส่วนมากจะสานไว้ใช้และขายเพื่อนบ้านบ้างเล็กน้อย
                ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 กำนันจรัส  พรมรักษา กำนันตำบลน้ำมวบ ได้เห็นว่าทรัพยากร เช่นไม้ไผ่ในป่ามีจำนวนมากและหาง่าย ประกอบการจักสานของผู้สูงอายุก็มีไม่มากและละเอียดพอ จึงจำหน่ายไม่ได้ราคา จึงได้จัดหางบประมาณในการจ้างวิทยากร จากบ้านปัวชัย อำเภเมืองน่าน  จังหวัดน่าน ชื่อนายอนัตน์ มาสอนการจักสานประเภทตะกร้า หวดข้าว กระบุง กระติ๊บข้าว ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยวิทยากรได้มานอนและสอนที่บ้านกำนันจรัส  พรมรักษา นานประมาณ 1 เดือน ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป ต่อมาได้มี
นางพิมสุภา กาติ้ง วิทยากร ได้ฝึกสอนการทำตะกร้า จากทางมะพร้าว เพิ่มเติม และมีหลายคนที่ต้องทำไร่ไม่มีเวลาที่จะทำต่อทำให้ลืม บางคนไม่ได้ทำการเกษตรก็ทำไปตามกำลัง ผลผลิตที่ได้นำไปใช้และขายตามหมู่บ้าน ไม่มีตลาดรองรับ
            ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ว่าที่ร้อยตรีปรมินทร์ โสมนัส ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จากศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรชายแดน จังหวัดอุตรดิตถ์ รับผิดชอบในการส่งเสริมอาชีพและจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนที่บ้านน้ำมวบและบ้านส้านนาหนองใหม่ ได้เข้าร่วมประชุมกับทางหมู่บ้าน เพื่อค้นหา ความต้องการ สาเหตุ และปัญหา เห็นว่าผู้สูงอายุบ้านส้านนาหนองงใหม่ ได้มีการจักสาน จึงมีการรวมกลุ่มจักสานผู้สูงอายุ พร้อมจัดสรรงบประมาณ ในการจัดจ้างวิทยากร จากบ้านสันนาเคียน มาสอน เพิ่มเติมในการทำชุดรับแขกไม้ไผ่ และศึกษาดูงานเพิ่มเติม จนถึงปัจจุบัน


แหล่งเรียนรู้อำเภอเวียงสา

ศาลเจ้าพ่อช้างงาแดง หมู่ที่ 1 ต.น้ำมวบ
                กาลครั้งหนึ่ง ในป่าบนดอยสูง ( ปัจจุบันอยู่ขุนน้ำพาง ตำบลน้ำพาง อ.แม่จริม) ได้มีพญาขอมตนหนึ่ง มีชื่อว่าเจ้าพญาขอมหลวง ได้ปกครองอยู่ และมีบุตร 1 คน ชื่อเจ้าพ่อช้างงาแดง พอเติบใหญ่ ได้แต่งงานกับนางบัวเขียว อยู่ขุนน้ำมวบทางทิศเหนือ(น้ำมวบเหนือ ) และได้พากันมาอยู่กับเจ้าพญาขอมหลวง จนมีบุตร 1 คน ชื่อ เจ้าคำแดงต่อมาเห็นว่า เจ้าพ่อช้างงาแดง สามารถปกครองลูกหลานและบริวารต่าง ๆ ได้ดีเจ้าพญาขอมหลวง จึงได้ยกทรัพย์สมบัติพร้อมเขตปกครองและบริวารทั้งหมดให้ เจ้าพ่อช้างงาแดงและเจ้าคำแดง ปกครองต่อไป
พอเจ้าคำแดง โตเป็นหนุ่ม เจ้าพ่อช้างงาแดง จึงให้ไปปกครอง ที่บ้านใหม่สว่าง ตำบลเมืองทุ่ง ประเทศลาว ( อยู่ทางทิศใต้บ้านน้ำมวบ) จนได้แต่งงานกับลูกสาวเจ้ากุหลุกุหล่ม ที่บ้านใหม่สว่าง ตำบลเมืองทุ่ง ประเทศลาว หลังจากเจ้าคำแดง ได้แต่งงานและปกครองอยู่ที่บ้านใหม่สว่าง ตำบลเมืองทุ่ง ประเทศลาว จนเจริญรุ่งเรือง จึงได้กลับมาดอยปู่ล้น เพื่อมอบสมบัติที่เป็นของตนเองทั้งหมดให้เจ้าพ่อช้างงาแดง ผู้เป็นพ่อ มีน้ำหนักทั้งหมด สองล้านบาทตาชั่งให้ดูแลต่อไป
  
             
 ต่อมาได้มีจีนฮ่อยกทัพมาตีประเทศลาว เจ้าคำแดงเกรงว่าสงครามจะลุกลามมาถึงใหม่สว่าง ตำบลเมืองทุ่ง ประเทศลาว ที่ตนเองปกครองอยู่ จึงมาขอให้เจ้าพ่อช้างงาแดง ขอกำลังทหารจากเจ้าชีวิต เมืองน่าน( เมืองนันทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 6 )  เจ้าชีวิตเมืองน่าน ได้มอบหมายให้เจ้าหลวงสา เลือกคนดีมีฝีมือจากอำเภอสา ได้จำนวน นาย 4 นาย ประกอบด้วย ทหารเอกเจ้าน้อยนันตา ท้าวจอมใจเหล็ก ท้าวแสนหาญคำเป็ก และพญาปราบ มาช่วยเจ้าคำแดง ปราบจีนฮ่อจนแตกหนีไป
                ด้วยความเป็นห่วงลูกจะได้รับอันตรายและกลัวจีนฮ่อจะรุกรานอีก เจ้าพ่อช้างงาแดง จึงไปขอให้เจ้าคำแดง พร้อมภรรยา ( ไม่มีบุตร) กลับมาอยู่ด้วยกันที่ดอยปู่ล้น จนหมดยุคเนื่องจากไม่มีบุตรสืบทอด
หลังจากช่วยรบสงครามสงบ ท้าวจอมใจเหล็ก และท้าวแสนหาญคำเป็ก ซึ่งอาศัยบ้านขึ่ง อำเภอสา ได้มาล่าสัตว์และหาของป่าบริเวณป่าบ้านน้ำมวบ โดยทำเพิงพักชั่วคราวประมาณ 2 -3 วัน จนได้สัตว์และของป่าเป็นที่พอใจจึงเดินทางกลับ เป็นเช่นนี้ตลอดไป จนรู้จักและคุ้นเคยผืนป่าแห่งนี้เป็นอย่างดีถึงความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ จึงได้ปรึกษาหารือกับครอบครัวและญาติพี่น้อง เพื่อย้ายครอบครัวมาอาศัยอยู่เป็นการถาวร ทั้งนี้เพื่อความสะดวก ในการล่าสัตว์และการประกอบอาชีพ

                จนกระทั่งปี พ.ศ. 2218 จึงได้พากันอพยพครอบครัวมาตั้งรกราก อยู่ที่ป่าบ้านน้ำมวบและได้ชักชวนญาติ พี่น้องให้อพยพครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน พร้อมได้สร้างศาลเพียงตา ( หอศาลลานคำ) ขึ้นมา 1 หลัง พร้อมอัญเชิญเจ้าพ่อช้างงาแดง พร้อมบริวารทั้งหมดมาอาศัยอยู่ เพื่อช่วยปกปักรักษาทั้งบุคคล สัตว์เลี้ยง พาหนะ และอื่น ๆ โดยที่ชาวบ้านทั้งหมดให้สัญญาว่า ในทุกวันพระจะไม่ไปทำการเกษตร จะไม่ตักน้ำ จะไม่ฆ่าสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ จะพูดแต่สิ่งดี ๆ โดยศาลเพียงตา ( หอศาลลานคำ) ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำมวบ จนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งได้มีผู้คนอพยพมาเพิ่มเติมและประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงสถานที่ และขยายศาลเจ้าพ่อช้างงาแดงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ตลอดจนได้สร้างศาลบริเวณเดียวกัน ประกอบด้วย ศาลเจ้าคำแดง (บุตร) ศาลเจ้าปิจหนูกั๋น ( หมอ ) และได้สร้างศาลขนาดใหญ่แบ่งออกเป็นห้อง ๆ แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณบริวารมาอาศัยอยู่แต่ละห้อง ประกอบด้วย เจ้าแสนด่าน(คนนำทาง) เจ้าพยาพาน( คนนำทาง) เจ้าขุนหาร(ทหาร) เจ้าพยาแก้ว(ทหาร)เจ้าตี่ (ทหาร) เจ้าเครือมะนำฮูง (ทหาร)พร้อมสร้างอาคารชำแหละ อาคารประกอบอาหาร ห้องสุขา น้ำประปา ไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
น้ำ.....นั้นสำคัญไฉน
โลกประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีมากกว่าส่สนที่เป็นพื้นดิน " น้ำ" จึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในโลกนี้ ต้นไม้ สัตว์และมนุษย์  ล้วนอาศัยน้ำเป็นองค์ประกอบในการดำรงชีวิต ร่างกายมนุษย์ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ถึง 70 % ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อร่างกายมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง

รายการ ETV กศน.



รายการ ETV เพื่อการศึกษาของ กศน.

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา จ.น่าน

ประวัติห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา


                   ด้วยรัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริม การศึกษาของประชาชนให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนจังหวัดและห้องสมุดประชาชนอำเภอ ขึ้นอย่างทั่วถึง  เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ส่งเสริมให้รู้จักการอ่าน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งถือเสมือนหนึ่งเป็นแหล่งการให้เรียนรู้ให้วิทยาทานแก่ประชาชน
                   ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา เป็นอาคารเอกเทศชั้นเดียว ตั้งอยู่หลังเทศบาลตำบลเวียงสา  สร้างเมื่อ วันที่ ๓๑  สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ด้วยเงินงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บทและเงินสมทบจากสมาชิก ข้าราชการครู ในอำเภอเวียงสา จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท สร้างเสร็จและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ ได้โอนอาคารสถานที่พร้อมทรัพย์สินและบุคลากร จากกรมสามัญศึกษาไปสังกัด กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ( ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สังกัด สำนักปลัดประทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ ) จนถึงปัจจุบัน
 สถานที่ตั้ง
          ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงสา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดน่าน ตั้งอยู่หลังเทศบาลตำบลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน  ๕๕๑๑๐ ผู้บริหารคนปัจจุบัน คือ นายบรรจบ  ธรรมสมบูรณ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงสา โทรศัพท์๐๕๔๗๘๑๑๗๗  
โทรสาร ๐๕๔๖๙๒๓๘๕